การประกอบธุรกิจประเภทโรงแรม ภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โรงแรมต้องส่งรายละเอียดผู้เข้าพักให้กับกรมการปกครอง รายละเอียดเหล่านั้นต้องมีแบบฟอร์ม หรือเอกสารที่โรงแรมใช้เรียกคือ ร.ร.3 และ ร.ร.4 อันดับแรกเรามาดูบางตอนของพระราชบัญญัติโรงแรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษไว้ดังนี้
ผู้จัดการต้องจัดให้มีการบันทึกรายการต่างๆ เกี่ยวกับผู้พักและจํานวน ผู้พักในแต่ละห้องลงในบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3) ในทันทีที่มีการเข้าพัก โดยให้ผู้พักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในบัตรทะเบียนผู้พัก หากผู้พักมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และเข้าพักตามลําพัง ให้ผู้จัดการหรือผู้แทนลงลายมือชื่อกํากับไว้ด้วยและนําไปบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ให้แล้วเสร็จภายใน ยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก
ถ้ารายการซึ่งจะต้องบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ตามวรรคหนึ่งซ้ำกับรายการวันก่อนให้บันทึกรายการดังกล่าวว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เข้าพักลงในบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ต้องบันทึกทุกรายการให้ครบถ้วน ห้ามมิให้ปล่อยช่องว่างไว้โดยไม่มีเหตุผลสมควร
ผู้จัดการต้องเก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก(ร.ร. 4) ไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีและต้องให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้
บัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสี่ ต้องระวางโทษ ปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”
มาตรา 57 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 35 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท”
ผู้จัดการต้องส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์แล้วให้นายทะเบียนทําใบรับมอบให้ไว้เป็นสําคัญ หากโรงแรมใดอยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถส่งได้ตามกําหนดดังกล่าว ให้นายทะเบียนพิจารณากําหนดระยะเวลาส่งสําเนาดังกล่าวแล้วแจ้งให้ผู้จัดการทราบ
มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”
ในกรณีที่ทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ที่เก็บรักษาไว้ในโรงแรมสูญหายหรือถูกทําลาย ผู้จัดการต้องดําเนินการขอคัดลอกสําเนาทะเบียนผู้พักนั้นจากนายทะเบียนมาเก็บรักษาไว้แทน
มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”
อ่านเพิ่มเติม พ.ร.บ โรงแรม
“ ร.ร.3 คือ บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม เป็นเอกสารที่ต้องบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าพักโรงแรม โดยเจ้าของข้อมูลลงรายละเอียดเอง”
roomyy.co
บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม เป็นเอกสารที่กรมการปกครองกำหนดให้โรงแรมต้องจัดให้มีการบันทึกรายการต่างๆ เกี่ยวกับผู้พักและจํานวนผู้พักในแต่ละห้องทันทีที่มีการเข้าพัก โดยให้ผู้พักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในบัตรทะเบียนผู้พัก
หากผู้พักมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์และเข้าพักตามลําพัง ให้ผู้จัดการหรือผู้แทนลงลายมือชื่อกํากับไว้และ โรงแรมต้องนําไปบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บใน ร.ร.3 ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
โดยส่วนใหญ่โรงแรมจะทำการพิมพ์แบบฟอร์ม ร.ร. 3 เพื่อให้ผู้เข้าพักทำการกรอกรายละเอียดเอง จากนั้นโรงแรมจะนำข้อมูลดังกล่าวกรอกในแบบ ร.ร.4 ต่อไป
“ร.ร.4 คือ ทะเบียนผู้พักในโรงแรม เป็นเอกสารของโรงแรมที่โรงแรมต้องนำส่งรายละเอียดผู้เข้าพักโรงแรมให้นายทะเบียนกรมปกครอง”
Roomyy.co
กล่าวคือ ร.ร.4 เป็นแบบฟอร์มทะเบียนผู้พักโรงแรม ซึ่งโรงแรมมีหน้าที่นำรายละเอียดจาก ร.ร. 3 มากรอกลงในแบบฟอร์ม ร.ร. 4 โดยโรงแรมต้องลงรายละเอียดผู้เข้าพักให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก และโรงแรมต้องส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์
แล้วให้นายทะเบียนทําใบรับมอบให้ไว้เป็นสําคัญ หากโรงแรมอยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถส่งได้ตามกําหนดดังกล่าว ให้นายทะเบียนพิจารณากําหนดระยะเวลาส่งสําเนาดังกล่าวและแจ้งให้ผู้จัดการทราบ
ข้อมูลในแบบฟอร์ม ของ ร.ร. 4 หรือทะเบียนผู้พักในโรงแรม มีดังนี้
เอกสารบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) เป็นเอกสารสำหรับนำส่งกรมการปกครอง เมื่อนำส่งเอกสารให้กับกรมการปกครองแล้ว เอกสารบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) โรงแรมต้องมีการเก็บไว้อย่างน้อย 1 ปี
เพื่อการตรวจสอบจากกรมการปกครอง ตามมาตรา 35 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และเมื่อครบกำหนดการจัดเก็บโรงแรมต้องกำหนดวิธีการทำลายเอกสารให้ชัดเจน เช่น การเผา การลบ การทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม หรือการใช้เครื่องย่อยเอกสาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของโรงแรม
โรงแรมต้องมีโปรแกรมโรงแรมที่มีมาตรการที่เพียงพอในเก็บการรักษาหรือปฏิบัติตามหลัก PDPA ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักต้องให้ความระมัดระวัง เพราะจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเข้าใช้บริการ
รวมถึงเพื่อป้องกันโอกาสในการรั่วไหลหรือการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามระเบียบของ กฎหมาย PDPA และเพื่อเป็นการสร้างมั่นใจให้กับผู้เข้าพัก ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลในกิจกรรมนี้ ว่าเมื่อมาใช้บริการของท่านแล้ว ข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองอย่างมั่นคงและปลอดภัย
โปรแกรมการจัดการ โรงแรมหรือการบริหารการจัดการนั้นเป็นเค […]
โปรแกรม PMS (Property Management System) คือ ระบบการจัด […]
ยกระดับธุรกิจโรงแรมให้เหนือกว่าด้วยระบบบริหารโรงแรมออนไ […]