การดำเนินธุรกิจของโรงแรมตามหลักของ PDPA โรงแรม โดยทั่วไปแล้วหากต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำข้อมูลไปใช้ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โรงแรมมีวิธีทำอย่างไร ทำได้แค่ไหน ไม่เช่นนั้นอาจต้องรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง เรามาทำความรู้จัก PDPA โรงแรมกันค่ะ
PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูล และการนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม
Roomyy.co
จะเห็นได้จากข่าวที่ออกมาให้ได้พบเจอบ่อยเหลือเกิน ว่ามิจฉาชีพโทรมาหลอกลวง รู้ชื่อ นามสกุลเรา หลอกให้เราโอนเงินให้ หรือจะเป็นการซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือส่งข้อความขยะมาให้เรากดลิ้งต่อ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือ กฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ วันที่ 1 มิ.ย. 2565
อ่านเพิ่มเติมพ.ร.บ PDPA
เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ง่ายๆคือ ข้อมูลต่างๆ ที่สามรถระบุตัวตนของตัวเจ้าของข้อมูลนั้น อาจเป็นได้ เอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ความเป็นมาของ กฎหมาย PDPA ถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป
มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่ หลอกลวง ให้ได้ผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูลเอง หรือจากผู้ดูแลข้อมูล เป็นการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายเหมือนกันทั้ง 2 ฉบับ
ความสำคัญของ PDPA คือ เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล การทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บ โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบ ยิมยอมในการเก็บข้อมูลส่วนตัว สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้าน เพิกถอนการเก็บ การนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว
สิทธิที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้ผู้ประกอบการขององค์กรและบริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวม และนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปใช้นั้นเป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อันดับแรกต้องรับรู้ก่อนว่าตัวโรงแรมไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจแบบ Hotels หรือ Homestays ฯลฯ ทั้งหมดนั้นต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551
อ่านเพิ่มเติม พ.ร.บ โรงแรม
โรงแรมจึงสามารถเก็บข้อมูลของผู้เข้าพักได้แม้จะประกาศใช้กฎหมาย PDPA โรงแรม เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าพักกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เกิดการเจ็บป่วย จะช่วยให้สามารถระบุตัวตนและให้ความช่วยเหลือหรือติดต่อญาติพี่น้องได้ ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บส่วนใหญ่ ล้วนเป็นข้อมูลที่จำเป็นได้ตามเดิม
ดังนั้นในบรรทัดต่อจากนี้จึงขอใช้คำว่า ‘โรงแรม’ ซึ่งเป็นคำอิบายถึงลักษณะที่ถูกต้องของการให้บริการห้องพักแบบเป็นครั้งคราว และมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้ามารับบริการตามนิยามของกฎหมาย PDPA โรงแรม เช่น
จะเห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงแรมมีการจัดเก็บนั้นมีเป็นจำนวนมาก นอกจากการทำบันทึกรายการเข้าพักของลูกค้าไปเปิดเผยต่อนายทะเบียน ตามพรบ. โรงแรม
ยังใช้ประโยชน์ในด้านกิจกรรมภายในโรงแรม ประโยชน์ในด้านกิจกรรมทางการตลาดและแบรนดิ้งด้วย บางโรงแรมยังมีบริการนำเที่ยว ซึ่งเป็นการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่มีการจัดเก็บไปเปิดเผยแก่บุคคลที่สามด้วย เช่น ระบบจองห้องพัก การเช่ารถ จองร้านอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย
ดังนั้นธุรกิจโรงแรมจึงต้องสำรวจว่ามีการเก็บข้อมูลส่วนใดบ้าง เพื่อจะได้กำหนดฐานหรือเหตุผลในการจัดทำวัตถุประสงค์และขอความยินยอมการเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เป็นการดำเนินการตามที่ PDPA กำหนดไว้
โรงแรม ถือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ตามนิยามของกฎหมาย PDPA คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
และยังมีเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processer) หรือมีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ประมวลผลจากข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ทั้งยังมีการส่งต่อข้อมูลแก่บุคคลที่สาม (Third Party) อาทิเช่น เช่น ระบบจองห้องพัก การเช่ารถ จองร้านอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย จึงต้องมีการดำเนินการ PDPA โรงแรมให้สอดคล้องตามข้อบังคับของกฎหมายดังนี้
บันทึกรายการต่าง ๆ ในโปรแกรมโรงแรมที่ผู้จัดการโรงแรมจัดเก็บไว้ ต้องเก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พักไว้อย่างน้อย 1 ปี การกำหนดขอบเขตเวลาการจัดเก็บที่ชัดเจน ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA กรณีที่แขกผู้เข้าพักไม่ต้องการให้โรงแรมจัดเก็บข้อมูล สามารถแจ้งความประสงค์ให้โรงแรมลบข้อมูลจากทะเบียนผู้เข้าพักได้เช่นกัน
สิ่งเหล่านี้จึงไม่เฉพาะแค่การปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังเป็นการสร้างมาตรฐานและความเชื่อมันให้กับลูกค้า ทั้งยังป้องกันเหตุละเมิดจากการโดนโจมตี เช่นกรณีของโรงแรมในเครือ แมริออท ที่อาจส่งผลร้ายกว่าที่คาดคิดได้ด้วย
โปรแกรมการจัดการ โรงแรมหรือการบริหารการจัดการนั้นเป็นเค […]
โปรแกรม PMS (Property Management System) คือ ระบบการจัด […]
ยกระดับธุรกิจโรงแรมให้เหนือกว่าด้วยระบบบริหารโรงแรมออนไ […]